สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูก “มะพร้าวน้ำหอม” พืชเงินล้าน ยังไงให้โตไว ลูกดก  (อ่าน 3241 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 36429
    • ดูรายละเอียด
ปลูก “มะพร้าวน้ำหอม” พืชเงินล้าน ยังไงให้โตไว ลูกดก

ปลูก “มะพร้าวน้ำหอม” พืชเงินล้าน ยังไงให้โตไว ลูกดก


ตำราโบราณ !! ปลูก “มะพร้าวน้ำหอม” พืชเงินล้าน ยังไงให้โตไว ลูกดก


มะพร้าวน้ำหอม เป็นพืชที่ปลูกข้ามปีมีอายุยืนเหมือนกับมะพร้าวแกงหรือพันธุ์ที่ไป แต่มีลักษณะเด่นของพันธุ มีขนาดเล็ก น้ำมของมะพร้าวอ่อนมีกลิ่นหอมรสหวาน เนื้อมะพร้าวอ่อนนำไปแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรม มะพร้าวน้ำหอมยังเป็นสินค้าที่สามารถส่งออกเป็นสินค้าแปรรูปจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม นอกจากนี้มะพร้าวยังถือว่าเป็นผลไม้ที่ปลอดสารพิษมากกว่าพืชอื่นเนื่องจาก การปลูกมะพร้าว ของเกษตรกรยังไม่ค่อยใช้สารเคมีกับการทำสวนมะพร้าวมากนักซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่การให้ผลที่ดกและผลิตลิตรที่ได้คุณภาพยังต้องเป้นสวนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สามารถให้น้ำกับต้นมะพร้าว พื้นที่ที่มีการปลูกกันมาก ได้แก่ จังหวัดที่ลุ่มเช่น เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ปัจจุบันเริ่มแพร่กระจายทดลองปลูกทุกภาคของประเทศไทย แต่ต้องเลือกคัดสรรพันธุมะพร้าวที่ให้ผลผลิตดีได้กับสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้มะพร้าวน้ำหอมได้มีรสชาดของน้ำมะพร้าวที่หอมหวานเหมือนต้นกำเหนิดสารพันธุ์

การใช้ปุ๋ยกับการปลูกมะพร้าว การปลูกมะพร้าวของเกษตรกรในส่วนใหญ่นิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินในสัดส่วนที่มากกว่าปุ๋ยเคมี เนื่องจากการปลูกมะพร้าวเป็นพืชที่มีอายุยาวจึงให้ปุ๋ยในลักษณะของการบำรุงดิน ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดใช้หว่านโคนต้น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยซากพืชและซากสัตว์(สัตว์น้ำ เปลือกกุ้งหอย ปลูก และซากปลาที่ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ) แต่ก็ยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีบ้างเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิต แต่ลดปริมาณลง เพื่อป้องกันสภาพดินเสื่อมและหากเป็นมะพร้าวน้ำหอม เพื่อรักษาคุณภาพรสชาดของน้ำมะพร้าวที่มีลักษณะหอมหวาน แต่หากใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมากจะทำให้ดินเสื่อมและรสชาดอาจเปลี่ยนไป

มะพร้าวน้ำหอม สามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญ ปัจจุบันนิยมปลูกกันมากที่อำเภอบ้านแพร้ว จังหวัดสมุทรสาคร รองลงมาก็มีที่จังหวัดราชบุรี เป็นพืชที่ปลูกง่ายและทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างรวดเร็วและไม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพียงคอยดูและไม่ให้แมลง และด้วงกินยอดมะพร้าว หรือคอยระวังเรื่อง กระรอก กระถิกที่ชอบจอกกินมะเนื้อในมะพร้าวอ่อนบ้าง และสัตว์พวกกระรอกนี้ก็ยังมีประโยชน์ ที่ชอบกินด้วงมะพร้าวเป็นการตัดวงจรชีวิตของด้วงได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ปุ๋ยกับมะพร้าว การใส่ปุ๋ยเคมีอาจมีปัญหาในเรื่องดินเสื่อมปัจจุบันได้มีการแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวหันมาใช้การปลูกมะพร้าวแนวทางเกษตรอินทรีย์โดยใช้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินเพื่อให้ชาวสวนมะพร้าวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน การใช้หรือใส่ปุ๋ยเคมีในเวลานานจะทำให้ดินเสื่อมและมะพร้าวกลายพันธุ์เสียรสชาดมะพร้าวน้ำหอมได้ การใช้ปุ๋ยนาโน ใส่ให้อาหารพืชทางใบทดแทนปุ๋ยเคมีเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ให้ธาตุอาหารบำรุงพืชอย่างเพียงพอ โดยใช้ควบคู่กับการบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยน้ำนาโน วายไอซี เป็นนวรรตกรรมใหม่สำหรับเกษตรกรใช้ฉีดพ่นที่ลำต้นและใบได้ผลดี ทำให้มะพร้าวออกลูกดก รสชาดดี ขั้วดอกมะพร้าวเหนียวไม่หล่นง่าย สารมารถเก็บผลมะพร้าวได้ตลอดปี ออกผลอย่างต่อเนื่อง ใช้ฉีดพ่น เดือนละ 2ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน สลับกับการให้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน

แมลงศัตรูของต้นมะพร้าว แมลงที่เป็นสร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวอย่างมากและที่พบอยู่บ่อย คือ แมลงประเภทด้วงชนิดต่าง ๆ เช่น ด้วงแรดกินมะพร้าว และด้วงงวง และแมลงหนามดำ เป็นต้น

ปัญหาด้วงและแมลงกิดกินยอดและใบของมะพร้าว ทำให้เกิดใบแห้งตาย
วิธีการกำจัดด้วง และแมลงหนามดำกินมะพร้าว ใช้สารเคมีฆ่าแมลง หรือจุลินทรีย์ตระกูลเชื้อราชั้นสูง เช่น บิวเวอเรีย หรือเมตาไรเซี่ยม วิธีการใช้ผสมน้ำฉีดพ่นบริเวณลำต้นและใบของมะพร้าว หรือใช้วิธีคลุกเคล้าไว้กับกองปุ๋ยหมัก และนำไฟล่อแมลงให้ลงมาที่กองปุ๋ยหมักที่คลุกเค้าเชื้อราป้องกันแมลง เมื่อเชื้อราติดตามตัวของแมลงจะค่อย ๆ ป่วยไม่กินอาหารแล้วตายไปในที่สุด

วิธีใช้ การกำจัดแมลงให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการใช้จุลินทรีย์(เชื้อราบิวเวอเรีย เมธาไรเซียม ทั้งหมดรวมกัน ผสมน้ำ ฉีดพ่นบริเวณที่มีแมลงเกาะกินพืช จำทำให้มีผลฆ่าตัวแมลง ป้องกันแมลงกัดกินพืช และควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้ผลดีมาก เชื้อราบิวเวอเรีย และเมธาไรเซียม ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคไม่มีสารเคมีตกค้างที่ผลผลิตของพืช หรือกรณีที่ต้นพืชสูงมากไม่สามารถฉีดพ่นถึงได้ ให้ใช้วิธีทำกองปุ๋ยหมักนำจุลินทรีย์บิวเมธาซีนัสคลุกเคล้าที่กองปุ๋ยหมัก แล้วทำการล่อแมลงด้วยแสงไฟฟ้าล่อให้แมลงลงมาที่กองปุ๋ยหมัก แมลงจะค่อยๆป่วยตายไปในที่สุดเป็นการลดปริมาณของแมลงอีกทางหนึ่ง

วายไอซีแค็ปซูลนาโน (YICCapsule Nano) อาหารเสริมพืชชนิดแค็ปซูลประกอบด้วยโมเลกุลธาตุอาหารอินทรีย์หลายชนิดรวมกับฮิวมิคแอซิต ละลายน้ำได้ และแลกประจุได้ ใช้ฉีดพ่นให้กับพืชได้ทุกชนิด ผสมน้ำราดรดบริเวณโคนต้น หรือใช้ผสมคลุกกับปุ๋ยเม็ดอินทรีย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพปริมาณธาตุอาหารบำรุงพืชใช้แทนปุ๋ยเคมีทางดิน ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน ปรับความเป็นกรดด่างดินไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็วการให้ปุ๋ย

การดูแลและบำรุงรักษา
มะพร้าวน้ำหอมที่เริ่มปลูกใหม่ควรเอาใจใส่บำรุงรักษาอย่างใกล้ชิด เพราะมะพร้าวจะเจริญเติบโตได้ดีในระยะแรก ถ้าขาดการเอาใจใส่หรือบำรุงรักษา ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งมีผลต่อการสร้างผลผลิต โดยมีข้อควรปฏิบัติ สำหรับการปลูกระบบสวนในที่ลุ่ม ดังนี้

1. ควรปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่มีอายุ ๑-๒ ปี ร่วมกับพืชผักชนิดอื่น เช่น ผักกินใบหรือกินผล จะได้ช่วยประหยัดการให้น้ำหรือปุ๋ย

2. มะพร้าวน้ำหอมเมื่อมีอายุ ๒ ปีครึ่ง – ๓ ปี จะเริ่มออกจั่น (ช่อดอก) ในระยะนี้จะมีทางมะพร้าวแห้ง ตลอดจนกาบหุ้มผล และผลอ่อนที่หลุดจากต้น ต้องเก็บทิ้งลงในคลองระบายน้ำด้านข้าง ที่ต้องการถมให้เกิดดินใหม่ เพื่อสลับร่องปลูกในรอบปลูกชุดใหม่ แล้วปิดหัว-ท้ายของร่องคลองระบายน้ำ เพื่อขังน้ำในคลองให้ช่วยสลายซากพืช ชาวสวนเรียกวิธีนี้ว่า ทำร่อง “กั๊บ”


3. ลอกดินเลนและโคลนในคลองระบายน้ำใส่สันร่อง เพื่อความสมบูรณ์ของร่องปลูก และเกลี่ยริมร่องปลูกเพื่อเก็บน้ำฝน เมื่อฝนตก จะได้มีความชุ่มชื้นในร่องอย่างทั่วถึง

4. ใส่มูลสุกรหรือปุ๋ยคอกระหว่างต้นและให้ค่อนมาทางร่องถม เมื่อเวลารดน้ำหรือฝนตกจะชะปุ๋ยคอกละลายไปทั่ว และไหลลงร่องถม เป็นการสร้างปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันนำมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นเพื่อเพิ่มคุณค่าฮอร์โมนให้แก่มะพร้าว



5. ต้องคอยตรวจและตัดแต่งคอมะพร้าวให้สะอาด จัดหาไม้ค้ำยันทะลายผล เพื่อป้องกันไม่ให้ทะลายหักหลุดออก โดยเฉพาะ ในระยะที่ให้ผลดกมาก ซึ่งตรงกับช่วงปลายฝนต้นหนาว (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน)

6. ในฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายนต้องสูบน้ำหรือปล่อยน้ำเข้าร่องสวน เพื่อให้มีน้ำไหลเวียน เป็นการเพิ่มความชื้น ให้ซึมถึงหลังร่อง

7. ปุ๋ยหมัก ใบ ผลอ่อน ที่ร่วงหล่นทับถม รวมทั้งปุ๋ยที่ใส่จะถูกชะล้างลงร่องถม ก่อให้เกิดดินใหม่ที่ร่วนซุยเพิ่มเติมจนเต็มร่องถม และในปีที่ ๗-๑๐ ก็สามารถปลูกมะพร้าวแซมในร่องที่เกิดใหม่นี้

8. โค่นต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป จะทำให้ต้นที่ปลูกใหม่เจริญเติบโตเร็ว เพราะไม่ถูกแย่งน้ำแย่งอาหาร และบดบังแสงสว่าง

มะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยและน้ำมาก ปุ๋ยที่ใช้กับมะพร้าวก็มีปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ สุกร ปุ๋ยหมักได้จากการหมักปุ๋ยคอกและใบไม้ผุ ซากสัตว์ ซากพืช เช่น ฟางข้าว ใบจามจุรี หรือกากถั่วต่างๆ ปุ๋ยพืชสด ได้แก่ พืชคลุมดินประเภทถั่วต่างๆ

ปุ๋ยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี
1.  ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ตากแห้ง เช่น เป็ด ไก่ สุกร ที่นำมาหมักกับซากพืช ซากสัตว์ และพืชสดต่างๆ ที่ให้ปุ๋ยไนโตรเจน

วิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ใช้รองก้นหลุมปลูกในปีที่ ๑ ใช้ ๑๐ กิโลกรัม ปีที่ ๒ ใช้ ๒๐ กิโลกรัม ปีที่ ๓ ใช้ ๓๐ กิโลกรัมนอกจากนี้แล้วยังใช้วิธีโรยรอบๆ ต้น หรือฝังกลบ หรือใช้ดินเลนที่ลอกจากร่องสวนนำมาถมและคลุมรอบต้น

2. ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยสังเคราะห์จากสารเคมีและสารสกัดจากแร่ธาตุต่างๆ มะพร้าวต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญ ๓ ธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เช่นเดียวกับพืชทั่วไป และอาจต้องการธาตุอาหารรอง เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม ตามสภาพความสมบูรณ์ของดิน

ปุ๋ยเคมีที่ใช้ได้ผลและช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่มะพร้าวน้ำหอมได้สูงสุด คือ ปุ๋ยสูตร ๑๓-๑๓-๒๑ และ ๑๒-๑๒-๑๗-๒ (แมกนีเซียมซัลเฟต)

วิธีใช้ปุ๋ยเคมี
ใช้หว่านห่างจากลำต้นมะพร้าวในรัศมี ๒ เมตร โดยรอบ หลังจากหว่านควรพรวนดินให้ลึกประมาณ ๑๐-๑๕ เซนติเมตร เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดิน และป้องกันการชะล้าง แล้วรดน้ำ

อัตราการใช้ ใช้สูตรปุ๋ยผสม ๑๓ : ๑๓ : ๒๑

ปีที่ ๑ ใช้ ๑ กิโลกรัมต่อต้นต่อปี

ปีที่ ๒ ใช้ ๒ กิโลกรัมต่อต้นต่อปี

ปีที่ ๓ ใช้ ๓ กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เพิ่มแมกนีเซียมซัลเฟต ๓๐๐ กรัม

ปีที่ ๔ ใช้ ๔ กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เพิ่มแมกนีเซียมซัลเฟต ๕๐๐ กรัม

วิธีใช้ปุ๋ยเพื่อปรับสภาพดิน

ใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราส่วนร้อยละ ๒๕ ต่อปุ๋ยอินทรีย์ร้อยละ ๗๕ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน จะช่วยให้การย่อยสลายและดูดซึมได้เร็ว

ฤดูกาลที่เหมาะสมที่จะให้ปุ๋ย
ฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ช่วงต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ในช่วงนี้จะมีความชื้นในอากาศและในดินสูง ซึ่งจะช่วยละลายปุ๋ยได้ดี รากของมะพร้าวกำลังเจริญเติบโตเต็มที่ สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ได้ดี และเมื่อถึงช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) มะพร้าวจะได้เจริญเติบโตไปอย่างต่อเนื่อง

การให้น้ำ
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับการปลูกมะพร้าวน้ำหอม เพราะมะพร้าวต้องการความชื้นมาก ในฤดูร้อนต้องรดน้ำให้มากขึ้น อย่าให้ขาดน้ำเกิน ๒ เดือน ช่วงฤดูฝนมะพร้าวต้องการน้ำน้อย ดังนั้น ปริมาณน้ำที่ให้ต้องสัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์

การให้น้ำในที่ลุ่มหรือร่องสวน
ชาวสวนจะใช้เรือรดน้ำพ่นฝอยขึ้นตามร่องปลูกมะพร้าว โดยใช้แบบเรือเข็นและเรือขับ นอกจากนี้อาจใช้ท่อระบายน้ำเข้า-ออก หรือเปิดให้น้ำไหลตามท่อ และมีคันป้องกันน้ำท่วม

การให้น้ำในที่ดอนหรือระบบไร่
ใช้เกณฑ์รดน้ำเช่นเดียวกันกับที่ลุ่ม โดยยึดเกณฑ์ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและฤดูกาลเช่นเดียวกันกับการรดน้ำในที่ลุ่ม การปลูกมะพร้าวในระบบไร่ ผู้ปลูกอาจติดตั้งระบบน้ำ คือ

การให้น้ำแก่ต้นมะพร้าว โดยใช้เรือรดน้ำพ่นฝอยตามร่องปลูก

1. ระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกลอร์) เป็นแบบฝนเทียม ซึ่งมีทั้งแบบหมุนรอบ หมุนครึ่งวงกลม และอยู่กับที่ หรือเคลื่อนย้ายไปตามแนวปลูก น้ำที่พ่นฝอย เกิดจากการต่อท่อส่งน้ำจากท่อประธานแยกสู่ท่อย่อย และเข้าสู่หัวพ่นฝอย
2. ระบบน้ำหยด ใช้หลักการต่อท่อแบบมินิสปริงเกลอร์ โดยมีท่อส่งน้ำแบบท่อประธานแยกสู่ท่อย่อย และเข้าสู่หัวน้ำหยด ที่สามารถปรับได้มากหรือน้อยตามความต้องการ
3. ระบบการปล่อยน้ำตามร่อง เป็นการขุดร่องน้ำให้ลึก ๒๕ เซนติเมตร ลาดชันไปตามพื้นที่ ขนานไปกับแปลงปลูก แล้วปล่อยน้ำจากที่สูง หรือใช้สูบน้ำจากแหล่งน้ำขึ้นสู่ถังเก็บด้านบน หรือสูบจากแหล่งน้ำในพื้นราบ แล้วปล่อยน้ำไปตามร่อง โดยอาจแยกแขนงไปตามแถวที่ปลูกเพื่อกระจายความชื้นให้ทั่วถึง


 ขอบคุณที่มา: kanchanapisek /  phikanes/http://www.yodyaa.com/2018/07/04/1540049299/
เรียบเรียงข้อมูล IDEADEE