CDC.CO.TH

General Category => บทความธุรกิจ => ข้อความที่เริ่มโดย: Admin ที่ มิถุนายน 09, 2022, 01:43:53 PM

หัวข้อ: หนุ่ม ป.โท ใช้เวลาว่างปลูกมะเดื่อฝรั่งขาย สร้างรายได้ 150,000 บาท
เริ่มหัวข้อโดย: Admin ที่ มิถุนายน 09, 2022, 01:43:53 PM
หนุ่ม ป.โท ใช้เวลาว่างปลูกมะเดื่อฝรั่งขาย สร้างรายได้ 150,000 บาท เมื่อ 3 วันที่ผ่านมา โดย เจ้าของร้าน

(https://wordpress6552.files.wordpress.com/2017/09/e0b8a1e0b8b0e0b980e0b894e0b8b7e0b988e0b8ad2.jpg?w=700)

คนขยันย่อมหาทรัพย์ได้ หนุ่มดีกรีปริญญาโท นัฐกร มาลัย.ใช้เวลาว่างปลูกต้นมะเดื่อฝรั่งหลากหลายสายพันธุ์ เพื่อตอนกิ่งพันธุ์จำหน่าย สร้างรายได้มากกว่า 150,000 บาท นอกจากการทำงานเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่ จ.นครราชสีมาแล้ว ยังใช้เวลาว่างเดินทางกลับบ้านเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อมาดูแลสวน มะเดื่อฝรั่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เพราะเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน ยับยั้งมะเร็ง. ตอนนี้ตนปลูกทั้งหมด200 กว่าต้น มากกว่า 30 สายพันธุ์แล้ว เป็นการปลูกทดลองดูว่าสายพันธุ์ไหน เหมาะกับสภาพอากาศและดินบ้านเรามากที่สุด

(https://www.naewna.com/uploads/news/source/382096.jpg)

มหาบัณฑิตหนุ่ม เล่าว่า ตนจบเอกเกษตรศาสตร์พืชสวน จาก ม.อุบลราชธานี และปริญญาโท เอกบริหารธุรกิจ จาก ม.รามคำแหงสุรินทร์ จึงชอบด้านเกษตร และอยากหารายได้พิเศษนอกเหนือจากทำงานประจำ มีเวลาน้อยกลับบ้านมาเดือนละ 2 ครั้ง จึงเลือกปลูกมะเดื่อฝรั่งเพราะดูแลง่าย ก็ทำมาเรื่อยๆมา 2 ปีแล้ว ควบกับงานประจำ จนตอนนี้ปลูกไปแล้ว 200 กว่าต้น รายได้ที่มาจากขายมะเดื่อฝรั่งมากกว่า 150,000 บาทแล้ว ณ. ตอนนี้ แต่เนื่องจากกิ่งพันธุ์มีปริมาณน้อยทำให้ผลิตไม่ทันต่อความต้องการ โดยตอนนี้ก็เปิดให้คนที่สนใจลงชื่อจองไว้ก่อน เมื่อกิ่งพร้อมก็จะแจ้งพร้อมโอนเงิน การส่งก็จะส่งกิ่งทางไปรษณีย์ ตอนนี้อยู่ในช่วงขยายเพิ่มปริมาณต้น ทำให้ยังไม่ค่อยมีลูกค้ามากเท่าไหร่ และส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักมะเดื่อฝรั่งกัน และยังไม่มีผลผลิตขาย แต่สามารถเข้ามาชิมได้ที่สวนฟรี

(https://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/329677.jpg)

นัฐกร มาลัย เล่าต่อว่า ตนฝากให้พ่อแม่คอยดูแลสวนมะเดื่อฝรั่งสุรินทร์ให้ ส่วนการรดน้ำและให้ปุ๋ย ได้ใช้เทคโนโลยี กล่องควบคุม”ทาร์มเมอร์”ในการตั้งเวลาเปิดปิดการให้น้ำและปุ๋ยน้ำแทน วันละ 1 ครั้ง สำหรับสวนมะเดื่อฝรั่งดังกล่าว ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 112 ม.4 บ.โชคใต้ คุ้มทุ่งเศรษฐี ต.อู่โลก อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ โดยมีนัฐกร มาลัย อายุ 30 ปี เป็นเจ้าของสวน สำหรับโรงเรือนใช้โรงเรือนแบบกางมุ้งครอบหลังคาพลาสติก เพื่อป้องกันโรคแมลงรบกวน มีความกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร ด้วยงบประมาณ 35,000 บาท และเตรียมสร้างโรงเรือนขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตรอีกโรง เพื่อปลูกมะเดื่อฝรั่ง กว่า 30 สายพันธุ์ อาทิ สายพันธุ์ BTM6,แบล็คจีนัว,แบล็คแจ็ค, กรีนอิชชู,โคนาเดีย,อินคาโกล,ไวท์จีนัวและพานาซี เป็นต้น

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS6umy6T6suCOPlIwNgPtTzn7Yjb85oYTy5m4NZX2bk2Plcc6jg9AAbHf87kSX7C_E4d_U&usqp=CAU)

สำหรับราคาค่ากิ่งพันธุ์จำหน่ายตั้งแต่ราคา 180 บาท ถึง 300 บาทต่อกิ่งพันธุ์ ตามแต่สายพันธุ์ที่มีราคาแตกต่างกันไป นอกจากนี้ตนยังทำชามะเดื่อฝรั่ง เป็นแพ็คเกจ จำหน่ายในราคากล่องละ 180 บาท มี 30 ซอง ที่ต่างประเทศก็มีทำเป็นแยมมะเดื่อฝรั่งและอบแห้งขายเหมือนกัน สามารถสร้างรายได้ให้กับนายนัฐกร มาลัย ได้ดีในระดับหนึ่ง ถึงยังไม่มากนัก เพราะยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่คาดว่าในอนาคตจะมีประชาชนรู้จักมะเดื่อฝรั่งมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นพืชในกลุ่มผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางสารอาหารและโภชนาการสูงที่สุดใน 10 อันดับแรกของโลกอีกด้วย

(https://static.naewna.com/uploads/news/gallery/source/130675.jpg)

นัฐกร มาลัย เจ้าของสวนมะเดื่อฝรั่ง กล่าวเสริมว่า ที่สวนในบ้านตนปลูกพืชผลไม้หลายอย่าง แต่จะเน้นมะเดื่อฝรั่งเป็นหลัก ในหลวง ร.9 เคยมีพระราชดำริ ลองปลูกไว้ที่โครงการหลวงมากว่า 20 ปีแล้ว แต่คนไทยพึ่งรู้จักประมาณ 4-5 ปีนี้ เพราะเป็นผลไม้ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ที่เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีโภชนาการสูง มีสรรพคุณ อาทิ ช่วยลดคอลเรสเตอรอล มีสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะช่วยให้ปริมาณอินซูลินน้อยลง หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด ป้องกันโรคไตที่เกิดจากคอลเรสเตอรอลสูง หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด และในมะเดื่อฝรั่งสามารถลดไตรกรีเซอไรด์ได้เป็นอย่างดี สามารถกินผลสุกได้ มีรสชาติหวานหอม ผลดิบสามารถลวกจิ้มน้ำพริกได้ ส่วนใบสามารถนำไปทำชามะเดื่อดื่มได้อีก ในสุรินทร์มีปลูกหลักๆก็คือที่นี่ ที่ปลูกเป็นธุรกิจใหญ่ ก็มีที่ กทม.และเชียงใหม่ ส่วนแถวบ้านเรากำลังทยอยปลูกกัน หลักๆจะเน้นปลูกตอนกิ่งพันธุ์ขาย ราคากิ่งตอนราคาดี ดูแลง่าย ตอน 1 เดือนก็ขายได้ ส่วนถ้าจะปลูกขายผลต้องปลูกในโรงเรือน เพราะจะควบคุมคุณภาพได้ หลักๆที่ตนจะแนะนำปลูก เช่น สายพันธุ์ BTM6,แบล็คจีนัว,แบล็คแจ็ค, กรีนอิชชู,โคนาเดีย,อินคาโกล,ไวท์จีนัว เป็นต้น

(https://static.posttoday.com/media/content/2017/06/13/EBC3A5EC16AE441DBCB0DE399D3F265E.jpg)

เกษตรพอเพียงหนุ่ม ป.โท หัวใจเกษตร สร้างรายได้ 150,000 บาท ใช้เวลาว่างปลูกมะเดื่อฝรั่งขาย ดูแลง่าย ผลไม้เพื่อสุขภาพ Admin  1 เดือน Ago  ไม่มีความเห็น เกษตรพอเพียงหนุ่ม ป.โท หัวใจเกษตร สร้างรายได้ 150,000 บาท ใช้เวลาว่างปลูกมะเดื่อฝรั่งขาย ดูแลง่าย ผลไม้เพื่อสุขภาพ Admin  1 เดือน Ago  ไม่มีความเห็น FACEBOOK  PREV ARTICLE NEXT ARTICLE คนขยันย่อมหาทรัพย์ได้ หนุ่มดีกรีปริญญาโท นัฐกร มาลัย.ใช้เวลาว่างปลูกต้นมะเดื่อฝรั่งหลากหลายสายพันธุ์ เพื่อตอนกิ่งพันธุ์จำหน่าย สร้างรายได้มากกว่า 150,000 บาท นอกจากการทำงานเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่ จ.นครราชสีมาแล้ว ยังใช้เวลาว่างเดินทางกลับบ้านเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อมาดูแลสวน มะเดื่อฝรั่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เพราะเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน ยับยั้งมะเร็ง. ตอนนี้ตนปลูกทั้งหมด200 กว่าต้น มากกว่า 30 สายพันธุ์แล้ว เป็นการปลูกทดลองดูว่าสายพันธุ์ไหน เหมาะกับสภาพอากาศและดินบ้านเรามากที่สุด

มหาบัณฑิตหนุ่ม เล่าว่า ตนจบเอกเกษตรศาสตร์พืชสวน จาก ม.อุบลราชธานี และปริญญาโท เอกบริหารธุรกิจ จาก ม.รามคำแหงสุรินทร์ จึงชอบด้านเกษตร และอยากหารายได้พิเศษนอกเหนือจากทำงานประจำ มีเวลาน้อยกลับบ้านมาเดือนละ 2 ครั้ง จึงเลือกปลูกมะเดื่อฝรั่งเพราะดูแลง่าย ก็ทำมาเรื่อยๆมา 2 ปีแล้ว ควบกับงานประจำ จนตอนนี้ปลูกไปแล้ว 200 กว่าต้น รายได้ที่มาจากขายมะเดื่อฝรั่งมากกว่า 150,000 บาทแล้ว ณ. ตอนนี้ แต่เนื่องจากกิ่งพันธุ์มีปริมาณน้อยทำให้ผลิตไม่ทันต่อความต้องการ โดยตอนนี้ก็เปิดให้คนที่สนใจลงชื่อจองไว้ก่อน เมื่อกิ่งพร้อมก็จะแจ้งพร้อมโอนเงิน การส่งก็จะส่งกิ่งทางไปรษณีย์ ตอนนี้อยู่ในช่วงขยายเพิ่มปริมาณต้น ทำให้ยังไม่ค่อยมีลูกค้ามากเท่าไหร่ และส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักมะเดื่อฝรั่งกัน และยังไม่มีผลผลิตขาย แต่สามารถเข้ามาชิมได้ที่สวนฟรี


(https://www.kasetsanjorn.com/wp-content/uploads/2019/03/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87.jpg)

นัฐกร มาลัย เล่าต่อว่า ตนฝากให้พ่อแม่คอยดูแลสวนมะเดื่อฝรั่งสุรินทร์ให้ ส่วนการรดน้ำและให้ปุ๋ย ได้ใช้เทคโนโลยี กล่องควบคุม”ทาร์มเมอร์”ในการตั้งเวลาเปิดปิดการให้น้ำและปุ๋ยน้ำแทน วันละ 1 ครั้ง สำหรับสวนมะเดื่อฝรั่งดังกล่าว ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 112 ม.4 บ.โชคใต้ คุ้มทุ่งเศรษฐี ต.อู่โลก อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ โดยมีนัฐกร มาลัย อายุ 30 ปี เป็นเจ้าของสวน สำหรับโรงเรือนใช้โรงเรือนแบบกางมุ้งครอบหลังคาพลาสติก เพื่อป้องกันโรคแมลงรบกวน มีความกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร ด้วยงบประมาณ 35,000 บาท และเตรียมสร้างโรงเรือนขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตรอีกโรง เพื่อปลูกมะเดื่อฝรั่ง กว่า 30 สายพันธุ์ อาทิ สายพันธุ์ BTM6,แบล็คจีนัว,แบล็คแจ็ค, กรีนอิชชู,โคนาเดีย,อินคาโกล,ไวท์จีนัวและพานาซี เป็นต้น

สำหรับราคาค่ากิ่งพันธุ์จำหน่ายตั้งแต่ราคา 180 บาท ถึง 300 บาทต่อกิ่งพันธุ์ ตามแต่สายพันธุ์ที่มีราคาแตกต่างกันไป นอกจากนี้ตนยังทำชามะเดื่อฝรั่ง เป็นแพ็คเกจ จำหน่ายในราคากล่องละ 180 บาท มี 30 ซอง ที่ต่างประเทศก็มีทำเป็นแยมมะเดื่อฝรั่งและอบแห้งขายเหมือนกัน สามารถสร้างรายได้ให้กับนายนัฐกร มาลัย ได้ดีในระดับหนึ่ง ถึงยังไม่มากนัก เพราะยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่คาดว่าในอนาคตจะมีประชาชนรู้จักมะเดื่อฝรั่งมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นพืชในกลุ่มผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางสารอาหารและโภชนาการสูงที่สุดใน 10 อันดับแรกของโลกอีกด้วย

นัฐกร มาลัย เจ้าของสวนมะเดื่อฝรั่ง กล่าวเสริมว่า ที่สวนในบ้านตนปลูกพืชผลไม้หลายอย่าง แต่จะเน้นมะเดื่อฝรั่งเป็นหลัก ในหลวง ร.9 เคยมีพระราชดำริ ลองปลูกไว้ที่โครงการหลวงมากว่า 20 ปีแล้ว แต่คนไทยพึ่งรู้จักประมาณ 4-5 ปีนี้ เพราะเป็นผลไม้ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ที่เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีโภชนาการสูง มีสรรพคุณ อาทิ ช่วยลดคอลเรสเตอรอล มีสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะช่วยให้ปริมาณอินซูลินน้อยลง หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด ป้องกันโรคไตที่เกิดจากคอลเรสเตอรอลสูง หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด และในมะเดื่อฝรั่งสามารถลดไตรกรีเซอไรด์ได้เป็นอย่างดี สามารถกินผลสุกได้ มีรสชาติหวานหอม ผลดิบสามารถลวกจิ้มน้ำพริกได้ ส่วนใบสามารถนำไปทำชามะเดื่อดื่มได้อีก ในสุรินทร์มีปลูกหลักๆก็คือที่นี่ ที่ปลูกเป็นธุรกิจใหญ่ ก็มีที่ กทม.และเชียงใหม่ ส่วนแถวบ้านเรากำลังทยอยปลูกกัน หลักๆจะเน้นปลูกตอนกิ่งพันธุ์ขาย ราคากิ่งตอนราคาดี ดูแลง่าย ตอน 1 เดือนก็ขายได้ ส่วนถ้าจะปลูกขายผลต้องปลูกในโรงเรือน เพราะจะควบคุมคุณภาพได้ หลักๆที่ตนจะแนะนำปลูก เช่น สายพันธุ์ BTM6,แบล็คจีนัว,แบล็คแจ็ค, กรีนอิชชู,โคนาเดีย,อินคาโกล,ไวท์จีนัว เป็นต้น

ตนจึงใช้ระบบ ทาร์มเมอร์ ในการตั้งเปิดปิดการให้น้ำให้ปุ๋ยน้ำแบบอัติโนมัติ วันละครั้ง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาไปรดน้ำรดปุ๋ย ตนปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือนแบบกางมุ้งหลังคาพลาสติก สามารถกันแมลงและกันน้ำได้ ควบคุมคุณภาพการผลิตได้ ซึ่งสามารถปลูกกินทั่วไปได้ ด้วยการปลูกตามสวนที่ดินในบ้าน ในกระถาง ในตะกร้า ในบ่อซีเมนต์ ที่เราหาได้ ตนขายกิ่งตอนตามออเดอร์ที่สั่ง ถ้าจะให้อนุบาลชงกระถางให้ด้วยพร้อมปลูกเลยก็ได้ ดูแลให้เพิ่ม 1-2 เดือน ราคากิ่งตอนปกติจะอยู่ประมาณกิ่งละ 180-300 บาท แล้วแต่สายพันธุ์ แบบลงกระถางราคา 300-500 บาท

ทั้งนี้ตลอด 2 ปีที่เริ่มปลูกที่ผ่านมา ตนสามารถขายกิ่งตอนไปแล้ว มากกว่าแสนห้าหมื่นกว่าบาท ลูกค้าก็จะเป็นประชาชนทั่วไป ข้าราชการครู ตำรวจ เป็นต้น ในระหว่างนี้ตนก็จะศึกษาหาข้อมูลและประสบการณ์เพิ่มเติมไปในตัว ไม่ได้กู้เงินใครมา และไม่เสี่ยง ตนเริ่มจาก 0 ใช้เงินจากงานประจำมาลงทุนเอง และจะหาลูกค้าไปเรื่อยๆ พร้อมกับดูทิศทางตลาดไปในตัว ซึ่งมะเดื่อฝรั่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เพราะเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ส่วนคนสุรินทร์ยังปลูกกันไม่เยอะ คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จัก ตนจะทำให้ต็มที่ต่อไป. หนุ่ม ป.โท กล่าว
จากข้อมูลผลการวิจัยทางวิชาการจากหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ระบุว่า ต้นมะเดื่อ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง พบมากในประเทศตุรกีและกรีซ จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นจะเป็นปุ่มแตกกิ่งก้านออก ลำต้นมียางสีขาว ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยวหนาค่อนข้างแข็ง ด้านหนึ่งมีขนอ่อน ส่วนผิวด้านบนจะหยาบ ขอบใบหยักลึก 3-5 หยัก ส่วนผลมะเดื่อจะออกเป็นกระจุก ผลกลมแป้นหรือรูปไข่ มีเปลือกบาง โดยผลอ่อนจะสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ด้านในมีเนื้อสีแดงเข้ม เมื่อสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม นอกจากนี้มะเดื่อยังจัดเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของประเทศอียิปต์ อิตาลี และกรีซอีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจที่อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถติดต่อเข้าชมสวนหรือแวะไปลองชิมรสชาดมะเดื่อฝรั่งสุกได้ที่ เพจเฟสบุ๊ค”สวนมะเดื่อฝรั่งสุรินทร์.คุณนัด” หรือที่เบอร์ 091-0565672 ครับ

แหล่งที่มา : http://esan.life